ย้อนระลึกเกียรติประวัติของปอร์เช่ 959 Paris-Dakar

นิทรรศการ Retro Classics เจาะเวลาหาอดีตไปกับปอร์เช่ การหวนคืนสู่ภารกิจสำคัญ

ปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ยนตรกรรมสปอร์ตระดับมาสเตอร์พีซที่สามารถเอาชนะผ่านเส้นทางกลางทะเลทรายแห้งแล้ง และทุ่งหญ้าสะวันนาอันรกร้างของแอฟริกา ด้วยระยะทางกว่า 14,000 กิโลเมตร และเป็นรถยนต์ที่สามารถขับขี่ไปได้ทุกแห่งบนโลก อีกทั้งยังเป็นยนตรกรรมที่พิชิตการแข่งขันแรลลี่สุดโหดตั้งแต่ฝรั่งเศสถึงแอฟริกาตะวันตกเมื่อปี 1986 ภายใต้การขับขี่ของ Jacky Ickx และ Claude Brasseur ที่สามารถเอาชนะและจบการแข่งขันในอันดับที่ 2 รองจากทีม       แชมเปี้ยนจากประเทศฝรั่งเศส โดย René Metge และ Dominique Lemoyne ซึ่งเป็นสุดยอดนักแข่งทางฝุ่นในอุดมคติ  และปัจจุบันพร้อมกลับมาโลดแล่นอีกครั้ง โดยการหวนกลับมาสู่ภารกิจครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งรับหน้าที่โดยทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ Porsche Classic ที่พร้อมการสนับสนุนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมารพร้อมกับสารคดีเรื่องราวของ “959 Paris-Dakar” นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการกลับมารับบทบาทรถแข่งตัวแรงอีกครั้ง โดยจะออกอากาศทาง Porsche YouTube channel 

Porsche Museum 959 Paris Dakar Restauration

ประวัติความเป็นมาของปอร์เช่ 959 Paris-Dakar 

บรรดายานพาหนะที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ Paris-Dakar Rally ปี 1986 ส่วนใหญ่คือรถบรรทุก และรถยนต์แบบ all-terrain แต่รถแข่งปอร์เช่ 959 ทั้ง 3 คันจากโรงงาน Zuffenhausen แตกต่างออกไป รถ service car คันที่ 3 ขับขี่โดยผู้จัดการโครงการ Roland Kussmaul และ Wolf-Hendrik Unger โดยจบการแข่งขันในอันดับ 6 และปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ Porsche Museum ได้จัดแสดงคอลเลกชั่นรถทั้ง 3 คันเอาไว้ในสภาพสมบูรณ์ “รถแข่งเจ้าของแชมป์ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่เคยมีใครได้สัมผัส คงสภาพไว้เสมือนได้ว่าว่าหยุดเวลาเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่าชิ้นส่วนทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันแรลลี่ทั้งหมดยังคงเหมือนเดิมตราบนานเท่านาน” ข้างต้นคือคำอธิบายจาก Kuno Werner หัวหน้าส่วนงาน Museum Workshop

ในช่วงทศวรรษ 1980 ทีมงานใช้เวลา 2 ปีในการปรับแต่งปอร์เช่ 959 ให้กลายสภาพเป็นรถแข่งแรลลี่ วิศวกรเสริมความแข็งแรงให้แก่ช่วงล่างด้านหน้าด้วยโช๊คอัพคู่ รวมทั้งติดตั้งยางรถยนต์แบบ all-terrain ในกรณีที่ขับขี่บนเส้นทางที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel drive เฟืองท้ายที่ควบคุมด้วย electro-hydraulically จะรับหน้าที่กระจายกำลังขับเคลื่อนระหว่างเพลาขับหน้า และเพลาขับหลัง ผลลัพธ์คือรถแข่งปอร์เช่คันนี้สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง Peter Falk ผู้อำนวยการแผนก Racing นึกย้อนไปถึงการแข่งขันแรลลี่ครั้งแรก ในปี 1984 ด้วยรถแข่งปอร์เช่ 953 และหลังจากนั้น 2 ปีต่อมาตามด้วยรถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ด้าน Mr Bott กล่าวว่า “มันช่างยอดเยี่ยมกับการที่รถแข่งของเราวิ่งผ่านเส้นชัย และคว้าแชมป์มาครองได้จากความพยายามในครั้งแรก หลังจากนั้น  เราต้องไปกันต่อ แค่ครั้งเดียวไม่เพียงพอ ต่อมาในปี 1985 รถแข่งทั้ง 3 คันของเราต้องถอนตัวออกจากการแข่งขัน สิ่งนั้นเปรียบได้กับหายนะ แต่ถึงอย่างไรเรายังคงตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้ง แม้ว่าเราจะรู้สึกเจ็บปวดนิดหน่อยจากการสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เราลงแข่งอีกครั้งในปี 1986 และรถแข่งทั้ง 3 คันเข้าเส้นชัย รวมทั้งคว้าอันดับ 1-2 มาครอบครองได้สำเร็จ” 

Porsche Museum 959 Paris Dakar Restauration

ยกเครื่องชุดใหญ่: เปิดเผยเรื่องราวเชิงลึกของรถแข่งตัวแรง 

Werner อธิบายว่า “เราต้องการรักษาสภาพดั้งเดิมเอาไว้ และเพียงแค่ซ่อมในบางจุดของตัวรถ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทางเทคนิคต่าง ๆ เนื่องจากรถแข่งเจ้าของอันดับที่ 2 จากการแข่งขันในปี 1986 ยังคงอยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยมเอา มาก ๆ จากกระบวนการซ่อมบำรุงเพื่อนำรถคันนี้กลับสู่ภารกิจอีกครั้ง จึงเป็นการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ให้น้อยชิ้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาจำนวนชิ้นส่วนเดิมที่ติดมากับตัวรถให้มากที่สุด รถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นระยะทางประมาณ 18,000 กิโลเมตร ตั้งแต่การวิ่งระหว่างแข่งขันแรลลี่ สำหรับรถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานทุกคัน รถแข่งแรลลี่ดังกล่าวยังคงติดตั้งเครื่องยนต์ 6 สูบนอน ระบายความร้อนด้วยน้ำ และอากาศ  พร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ สาเหตุจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำในขณะนั้น พละกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ 6 สูบจึงลดเหลือเพียง 400 แรงม้า (294 กิโลวัตต์) ด้าน Uwe Makrutzki หัวหน้าส่วนงาน Porsche Classic factory restoration กล่าวว่า “รถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar เป็นรถต้นแบบ prototype นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลของการกลับมารับภารกิจอีกครั้ง และในปี 1986 รถคันนี้ต้อเผชิญหน้ากับความท้าทายอีกครั้ง” ทีมงานของ Makrutzki และ Werner ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งปรึกษาหารือในทุกเรื่อง และทุกรายละเอียด ทีมงาน Porsche Classic รับบทบาทถอดชิ้นส่วน โอเวอร์ฮอร์น และประกอบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ รวมทั้งระบบส่งกำลัง ในโครงการนี้ อะไหล่ทั้งหมดมีความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย

Porsche Museum 959 Paris Dakar Restauration

“ตัวรถอยู่ในสภาพที่ยอดเยี่ยมมาก ไม่มีความเสียหายหนัก หรือสนิมเกิดขึ้น ด้วยการซ่อมบำรุงฟื้นคืนสภาพในลักษณะของพันธะกิจเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาตัวรถให้คงเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทีมงานจำเป็นต้องลงมือตรวจสอบชิ้นส่วนทีละชิ้น และจัดการซ่อมแซมแก้ไขในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ เท่านั้น อะไหล่ดั้งเดิมหลายชิ้นมีสถานะใกล้เคียงกับการผลิตรถต้นแบบขึ้นมาเลยทีเดียว” Werner กล่าวสรุป 

สำหรับการบุกตะลุยเส้นทางแรลลี่ทุรกันดารระยะยาว บริษัทปอร์เช่ ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติเยอรมันได้ทำการเสริมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่ตัวรถหลายจุด สำหรับในช่วงทศวรรษ 1980 หนึ่งในนั้นคือการติดตั้งกล่องควบคุมเครื่องยนต์ หรือ engine control units (ECUs) ซึ่งต้องวางตำแหน่งเอาไว้ค่อนข้างสูง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อกล่อง ECUs ในกรณีที่ต้องขับรถข้ามแหล่งน้ำ นอกจากนี้ปอร์เช่ยังจัดเตรียมชุดระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง oil cooler และท่อทางเดินน้ำมันเครื่องไว้ใต้ปีกหลังสำหรับการแข่งขันแรลลี่โดยเฉพาะ รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีมอเตอร์สปอร์ตล้ำยุคลงไปในตัวรถ อาทิ โครงสร้างที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม เพื่อลดน้ำหนักให้ต่ำลง การเจาะรูบนจานเบรก และการตัดสินใจนำเอาชิ้นส่วนตัวถัง ประตู และฝากระโปรงหน้าที่ผลิตจากวัสดุ Kevlar มาใช้ และด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานวิศวกรจากสตุ๊ทการ์ท ส่งผลให้น้ำหนักรถเปล่าเหลือเพียง1,260 กิโลกรัมเท่านั้น

Porsche Museum 959 Paris Dakar Restauration

ระหว่างขั้นตอนการถอดชิ้นส่วนของปอร์เช่ 959 ทีมงานพบฝุ่น และทรายที่หลงเหลือมาจากทะเลทรายในแอฟริกา ตั้งแต่รถที่กลับมาจากการแข่งขันแรลลี่ ตัวถัง และชิ้นส่วนกลไกไม่เคยถูกแยกออกจากกันมาก่อน Werner กล่าวว่า “สำหรับเราแล้ว นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทุกวัน มันคือความพิเศษสุด ดินโคลนที่เราพบในวันนี้แสดงให้เห็นว่าปอร์เช่ 959 Paris-Dakar เคยลุยข้ามแหล่งน้ำลึกจนกระทั่งน้ำเข้ามาภายในห้องโดยสาร มีสนิมเกิดขึ้นเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนตัวถัง Kevlar และโครงสร้างโลหะ อันเนื่องมาจากแรงกดที่เกิดขึ้นเมื่อขับขี่ในสนามแรลลี่ด้วยความเร็วสูง แทนที่การซ่อมแซม ร่องรอยดังกล่าวจะถูกเก็บเอาไว้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันน่าจดจำของรถคันนี้ เราพยายามคงสภาพเดิมแม้กระทั่งสายรัด cable ties ซึ่งจะอยู่ในที่เดิมของมันหลังจากการทดสอบ และโอเวอร์ฮอร์นชิ้นส่วนทั้งหมด ตัวตนที่แท้จริงของรถคือสิ่งที่ไม่อาจสร้างขึ้นมาได้ใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเกียร์ Klaus Kariegus คือหนึ่งในบุคคลผู้ชื่นชอบเศษฝุ่นจากแอฟริกาที่หลงเหลืออยู่บนตัวรถ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์จริงในอดีต รถคันนี้ผ่านการพิสูจน์ทั้งในแง่ของคุณภาพ และความคงทนถาวร แม้แต่ทราย และฝุ่นผงจากการลงสนามแข่งอย่างหนักยังไม่สามารถทำลายเทคโนโลยีของมันลงได้ วัสดุคุณภาพสูงทั้งหลายยังคงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเช่นเดิม” Kariegus อธิบายไว้ว่า ทีมงานของ Makrutzki ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงปอร์เช่ 959 ทั้ง 4 คัน ได้ดำเนินการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของระบบต่าง ๆ และตัดสินใจเก็บรักษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ได้จากการแข่งขันแรลลี่เอาไว้ “เพียงแค่การหลงเหลือความเสียหายจากอดีตเอาไว้ สิ่งนี้จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา และทำให้มันฟื้นคืนชีพอีกครั้ง” Werner กล่าวสรุป

หิมะ และก้อนกรวด: ปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อหวนคืนบัลลังก์

เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ปี 1986 ให้สมจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ ได้เชิญ Jacky Ickx มาเยี่ยมชมตัวรถที่กำลังอยู่ในระหว่างการโอเวอร์ฮอร์น อดีตนักขับรถแข่งเจ้าของอันดับ 2 ในรถปอร์เช่ 959 Paris-Dakar จะได้รับเกียรติในการขับรถคันนี้เป็นคนแรกท่ามกลางเหมืองหิน เขากล่าวแสดงความรู้สึกว่า“เมื่อกลับเข้าไปภายในรถ ความทรงจำทั้งหลายของผมหวนกลับมาทันทีทันใด ผมจะไม่ลืมทุกคนที่มีส่วนทำให้มันกลับมาวิ่งได้อีกครั้ง ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการในขณะนี้มีจำนวนเพียง 18 คน ทั้งหมดเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณอันเข้มแข็ง และพร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงโดยไม่ย่อท้อแม้แต่น้อย ทุกคนต้องการขับรถบนท้องถนน ดังนั้นปอร์เช่จึงตัดสินใจส่ง 959 เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ในทะเลทราย มันช่างน่าอัศจรรย์กับการที่ผมมีส่วนร่วมในหน้าประวัติศาสตร์ การแข่งแรลลี่คือความท้าทายอย่างไม่น่าเชื่อ และเป็นสนามทดสอบสุดสมบูรณ์แบบสำหรับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel drive ไม่มีใครคาดคิดว่าตัวเขา และทีมงานจะประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือ ทะเลทรายเปรียบเสมือนมหาสมุทร เราจะไม่พบเจอเนินทราย และลูกคลื่นที่เหมือนกัน” 

ในส่วนของแชมเปี้ยนรายการ เลอ มังส์ Timo Bernhard ผู้ได้รับโอกาสเข้ามาร่วมงานกับ Jacky Ickx สำหรับการขับขี่รถแข่งที่ผ่านการซ่อมบำรุงแล้ว ประสบการณ์ของรุ่นพี่นักแข่งจากปี 1986 เต็มไปด้วยความน่าสนใจ “ผมมีภาพจำของการแข่งขันแรลลี่ที่ไม่ธรรมดา นั่นคือเฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถไล่ตามรถแข่งได้ทัน เพราะว่าเราขับเร็วมาก” Bernhard ย้อนความ หลังจากนั้นเกือบ 40 ปี” Jacky Ickx กล่าวสรุปเรื่องราวการแข่งขันครั้งแรกด้วยคำพูด 3 คำคือ “ความทรงจำ, ความรู้สึก, ความปรารถนา” ทางด้านของ Kuno Werner หัวหน้าส่วนงาน Museum Workshop นิยามถึงการกลับคืนบัลลังก์ของยอดรถแข่งทางฝุ่นว่าคือสิ่งที่พิเศษสุดอย่างยิ่ง “ปอร์เช่ 959 นอนสงบนิ่งมาเนิ่นนานหลายปี ก่อนจะได้รับโอกาสให้กลับมาร่วมงานกับนักแข่งเจ้าของที่นั่งคนเดิม กลางหิมะ และกรวดทราย นี่คือความภาคภูมิใจของทั้งทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานพิพิธภัณฑ์”

ร่วมสัมผัสความ Retro Classics ทาง Porsche YouTube channel

ผู้สนใจสามารถรับชมรถคันจริงได้ ภายในงานกิจกรรม Retro Classics ที่ถูกจัดขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการพิเศษ ‘75 Years of Porsche Sports Cars’ ภายใน atrium / east entrance ของศูนย์จัดแสดงผลงาน exhibition centre ณ เมืองสตุ๊ทการ์ท ตั้งแต่วันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป และสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางมาร่วมงานดังกล่าว สามารถร่วมสัมผัส และตื่นตาตื่นใจไปกับขั้นตอนการปรับปรุงสภาพตัวรถ โดยทีมงานถ่ายทำใช้ชีวิตอยู่อย่างใกล้ชิดกับทั้ง 2 กลุ่มบุคลากร Porsche Heritage รวมทั้งทีมงานของพิพิธภัณฑ์  และทีมงาน Porsche Classic รวมไปถึงสารคดี ‘959 Paris-Dakar’ ภาคแรก มีกำหนดออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2023 รับชมได้ทาง Porsche YouTube channel จากนั้นอีก 5 ภาคจะออกอากาศตามในวันที่ 3, 5, 7, 9 และ 11 กุมภาพันธ์ ตื่นเต้นไปกับความคลาสสิกจากรถแข่งที่คงสภาพดั้งเดิมเอาไว้อย่างสมบูรณ์ การถอดชิ้นส่วนเครื่องยนต์ งานซ่อมบำรุงตัวถัง การโอเวอร์ฮอร์น การประกอบเครื่องยนต์ และการทดสอบขับครั้งแรกหลังเสร็จสิ้นกระบวนการปรับแต่ง ติดตามข้อมูล และ trailers สำหรับทุก episodes ได้บน Facebook และ Instagram @porsche.museum 

Share